เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความเพียรครั้งแรกชื่อว่า อารัพภธาตุ ในคำมีอาทิว่า อารพฺภ-
ธาตุ.
ความเพียรมีกำลังแรงกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน
ได้ ชื่อว่า นิกกมธาตุ ความเพียรที่แรงกว่านั้น เพราะก้าวไปยังฐาน
ข้างหน้า ๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ. แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า
ความเพียรเริ่มแรก เพื่อบรรเทากาม 1 การก้าวออกเพื่อกำจัดกิเลส
ดุจลิ่ม 1 ความบากบั่น เพื่อตัดกิเลสดุจเครื่องผูก 1 แล้วกล่าวว่า
เรากล่าวว่า ความเพียรมีประมาณยิ่งกว่าทั้ง 3 อย่างแม้นั้น.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ได้แก่ผู้มีความเพียรที่บริบูรณ์ และมี
ความเพียรที่ประคองไว้ ในสองอย่างนั้น ความเพียรที่ปราศจาก
โทษ 4 อย่าง พึงทราบว่า ความเพียรที่เริ่มแล้ว แต่ไม่ใช่ที่ย่อหย่อน
เกินไป ไม่ใช่ที่ประคองเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ความเพียรที่หดหู่ในภายใน
และไม่ใช่ความเพียรที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ความเพียรนี้นั้น มี 2 อย่าง
คือความเพียรทางกาย 1 ความเพียรทางใจ 1

ในสองอย่างนั้น พึงทราบความเพียรทางกายของภิกษุ
ผู้พากเพียรพยายามทางกาย ตลอด 5 ส่วน ของกลางคืนและ
กลางวันอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมชำระจิตเสียจาก
ธรรมที่พึงกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวัน. พึงทราบความ
เพียงทางจิตของภิกษุผู้พากเพียรพยายามผูกใจ ด้วยการกำหนด

โอกาสอย่างนี้ว่า เราจักไม่ออกไปจากที่เร้นนี้ ตราบเท่าที่จิตของเรา
ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น หรือด้วยการกำหนดอิริยาบถ
มีการนั่ง เป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักไม่เลิกนั่งขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่
จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น. ความเพียร
แม้ทั้ง 2 นั้น ย่อมสมควรในที่นี้. ก็สำหรับท่านผู้ปรารภความเพียร
ด้วยความเพียรแม้ทั้ง 2 อย่างนี้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เหมือนพระติสสเถระเผ่ามิลักขะ เหมือน
พระมหาสิวเถระ ผู้อยู่เงื้อมเขาใกล้ละแวกบ้าน เหมือนพระปีติมัลลก-
เถระ และเหมือนพระติสสเถระบุตรกุฏุมพี ฉะนั้น ก็บรรดาพระเถระ
เหล่านั้น พระเถระ 3 รูปข้างต้น และพระเถระเหล่าอื่นเห็นปานนั้น
เป็นผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร ด้วยความเพียรทางกาย พระติสสเถระบุตร
กุฏุมพี และพระเถระเหล่าอื่นเห็นปานนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร
ด้วยความเพียรทางใจ ส่วนพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ที่อุจจวาลุกวิหาร
เป็นผู้ปรารภความเพียรทั้ง 2 อย่าง.
ได้ยินว่า พระเถระ เดินจงกรมสัปดาห์ 1 ยืนสัปดาห์ 1
นั่งสัปดาห์ 1 นอนสัปดาห์ 1 พระมหาเถระไม่มีแม้สักอิริยาบถหนึ่ง
ที่จะได้ชื่อว่า ไม่เป็นสัปปายะ ในสัปดาห์ที่ 4 ท่านเจริญวิปัสสนา
ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
การถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป 1 การเปลี่ยนอิริยาบถโดย
สม่ำเสมอ 1 มนสิการถึงอาโลกสัญญา 1 การอยู่กลางแจ้ง 1
ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ 1 จริงอยู่

เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนอย่างพราหมณ์ที่ชื่อว่า อาหรหัตถกะ
พราหมณ์ที่ชื่อว่า ภุตตวัมมิตกะ พราหมณ์ที่ชื่อว่าตัตถวัฏฏกะ
พราหมณ์ที่ชื่อว่า อลังสาฏกะ และพราหมณ์ที่ชื่อว่า กากมาสกะ
เป็นต้น นั่งในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน การทำสมณธรรม
อยู่ ถีนมิทธะย่อมครอบงำ เหมือนช้างใหญ่ฉะนั้น แต่เมื่อภิกษุหยุดพัก
คำข้าว 4-5 คำ แล้วดื่มน้ำเสีย พอทำอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ
ถีนมิทธะนั้น ก็ไม่มี แม้เมื่อภิกษุถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป
ดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ ถีนมิทธะก้าวลงในอิริยาบถใด
เมื่อท่านเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสียก็ดี มนสิการ
ถึงแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่ง
คบเพลิง ตอนกลางคืน และแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ตอนกลางวันก็ดี
อยู่กลางแจ้งก็ดี คบกัลยาณมิตร ผู้ละถีนมิทธะได้แล้ว เสมือนกับ
พระมหากัสสปเถระก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการกล่าว
สัปปายกถาอันอิงธุดงคคุณ ในอิริยาบถมีการยืน และการนั่งเป็นต้น
ก็ย่อมละได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อม
เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิตสงบแล้วด้วยฌาน หรือ
วิปัสสนา